เมนู

ภิกษุ คบหากัลยาณมิตร ยินดีในอสุภภาวนา เช่นกับพระ
ติสสเถระ ผู้บำเพ็ญอสุภกรรมฐาน ย่อมละกามฉันท์ได้ ด้วย
อสัปปายกถา อันอาศัยอสุภ 10 ในการยืนและนั่งเป็นต้นก็ละกามฉันท์
ได้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม 6 ย่อมเป็นไปเพื่อละกามฉันท์.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 6

อรรถกถาสูตรที่ 7



ในสูตรที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เมตตาเจโตวิมุตฺติ ได้แก่ เมตตาที่แผ่ประโยชน์เกื้อกูล
ไปในสัตว์ทุกจำพวก ก็เพราะเหตุที่จิตประกอบด้วยเมตตานั้น ย่อม
หลุดพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้น ฉะนั้น เมตตานั้น
ท่านจ่งเรียกว่า เจโตวิมุตติ. อีกอย่างหนึ่ง ว่าโดยพิเศษ เมตตานั้น
พึงทราบว่า ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องกลุ้มรุมคือ
พยาบาททั้งหมด. ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า เมตตาในคำว่า เมตฺตาเจโต-
วิมุตฺติ นั้น แม้ปฏิปทาเป็นส่วนเบื้องต้นก็ใช้ได้. แต่เพราะท่านกล่าวว่า
เจโตวิมุตติ ในที่นี้ท่านประสงค์เอาเมตตา เฉพาะที่เป็นอัปปนา โดย
อำนาจติกฌานและจตุกกฌานเท่านั้น. บทว่า โยนิโส มนสิกาโร
ความว่า มนสิการอยู่ ซึ่งเมตตาเจโตวิมุตตินั้น ด้วยมนสิการ โดย
อุบายซึ่งมีลักษณะดังกล่าวแล้ว.